คณะกรรมการของสมาคมฯ
คณะกรรมการของสมาคมฯ
- กรรมการที่ปรึกษาชมรมฯประกอบด้วยนายกสมาคมโรคไตและบุคคลซึ่งคณะกรรมการของชมรมฯเห็นสมควร
- กรรมการบริหารชมรมฯประกอบด้วย
- ประธาน 1 ตำแหน่ง
- รองประธาน 2 ตำแหน่ง
- เลขานุการ 1 ตำแหน่ง
- นายทะเบียน 1 ตำแหน่ง
- ประชาสัมพันธ์ 1 ตำแหน่ง
- วิเทศน์สัมพันธ์ 1 ตำแหน่ง
- เหรัญญิก 1 ตำแหน่ง
- ปฏิคม 1 ตำแหน่ง
- ตัวแทนภาค 4 ตำแหน่ง
คณะกรรมการบริหารของชมรมฯดำรงตำแหน่งวาระละ2ปีประธานของชมรมฯดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระ นอกจากเคยเว้นระยะการดำรงตำแหน่งนั้นมาแล้ว1วาระ
การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารของชมรมฯ
- ให้สมาชิกเสนอชื่อ ผู้สมควรดำรงตำแหน่งประธานโดยเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งประธานได้มากกว่า1คนแต่ต้องมีสมาชิกรับรอง 3 คน
- ผู้ได้รับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งประธานต้องอยู่ในที่ประชุมใหญ่ของชมรมฯ ขณะที่มีการเลือกตั้งทุก 2 ปี
- ผู้ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดให้ดำรงตำแหน่งประธานชมรมฯ และประธานชมรมฯจะมีผู้ดำเนินการต่อไปเกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ เพื่อดำเนินการต่างๆให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของชมรมฯ
- คณะกรรมการบริหารชมรมฯต้องเป็นสมาชิกสามัญ
- ถ้าตำแหน่งใดในคณะกรรมการบริหารว่างลงให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารชมรมฯ ที่จะแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งว่างนั้นแทน
หน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
- ประธานชมรมมีหน้าที่ดังนี้
• รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมของชมรมฯให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับวัตถุประสงค์และมติของคณะกรรมการ บริหารและที่ประชุมใหญ่
• เป็นประธานในที่ประชุม คณะกรรมการบริหารและในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
• เป็นผู้แทนชมรมฯในการติดต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งบุคคลทั่วไป
• เสนอชื่อที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการต่างๆที่จำเป็น เพื่อผ่านการรับรองจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร
• มีอำนาจสั่งจ่ายเงินในกรณีจำเป็น และรีบด่วนได้ไม่เกิน 5,000.-บาท(ห้าพันบาทถ้วน) โดยต้องแจ้งให้คณะกรรมการบริหารรับทราบในการประชุมครั้งต่อไป
• เรียกประชุมคณะกรรมการบริหาร เป็นกรณีรีบด่วนได้แต่ถ้ากรรมการไม่สามารถร่วมประชุมได้ ต้องส่งผู้แทนมาร่วมประชุม และผู้แทนมีสิทธิ์เทียบเท่ากรรมการ - ตำแหน่งรองประธานชมรมฯ มีอำนาจหน้าที่
• ช่วยประธานในกิจกรรมของชมรมฯ
• เป็นรองประธานคนที่ 1 ในที่ประชุมและปฏิบัติงานแทนประธานเมื่อประธานไม่อยู่ หรือไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้ - คณะกรรมการบริหารเขต แบ่งเป็น 5 เขต
• เขตภาคเหนือ
• เขตภาคกลาง
• เขตภาคตะวันออก
• เขตภาคใต้
• เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แทนเขตต่างๆ มีอำนาจหน้าที่ช่วยประธานชมรมฯ ในกิจกรรมของชมรมฯตามที่ได้รับมอบหมายดังนี้
• วางระเบียบและวิธีการต่างๆเพื่อการดำเนินงานโดยยึดตามมติข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารและชมรมฯ
• รับผิดชอบในการดำเนินการของชมรมฯ ในแต่ละภาคให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการบริหาร
• เป็นกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง
• เป็นตัวแทนของชมรมฯในการติดต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเขตความรับผิดชอบ
• จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารเขตในแต่ละเขตเพื่อปรึกษาหารือและดำเนินกิจกรรมของชมรมฯ
• รายงานดำเนินการให้ที่ประชุมกรรมการบริหารทราบในวาระการประชุม - ฝ่ายเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่
• ดำเนินงานทางธุรการของชมรมฯนัดประชุม จัดระเบียบวาระการประชุม และเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
• บันทึกการประชุม แจกเอกสารรายงานการประชุมเก็บรักษาเอกสารสำคัญของชมรม - เหรัญญิกและผู้ช่วยเหรัญญิก มีหน้าที่
• รับ-จ่ายเงิน และรักษาผลประโยชน์ของชมรมฯ ทำบัญชีและงบดุล เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ประจำปี - นายทะเบียนและผู้ช่วยนายทะเบียน มีหน้าที่
• ดำเนินการในเรื่องการลงทะเบียน ถอนทะเบียน แก้ไขทะเบียน ให้เป็นปัจจุบันเสนอ และเก็บใบสมัครของสมาชิก ประสานงานกับเลขานุการ การเสนอรายชื่อสมาชิกเพื่อขอให้คณะกรรมการอนุมัติ - ปฏิคมและผู้ช่วยปฏิคม มีหน้าที่
• ดูแลต้อนรับอำนวยความสะดวกแก่วิทยากรสมาชิกของชมรมฯในการประชุม
• รับผิดชอบในเรื่องการจัดสถานที่และการจัดเลี้ยง ของที่ระลึกเมื่อมีการประชุมใหญ่หรือจัดงานต่างๆของชมรมฯ - ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่
• ประสานงานเผยแพร่กิจกรรมและงานของชมรมฯสู่สมาชิกและสังคมตามความเหมาะสมเชิญชวนสมาชิกให้ร่วมประชุมประจำปี และร่วมในกิจกรรมซึ่งทางชมรมจัดขึ้น
• ร่วมทำหน้าที่พิธีกรของงานด้วย - ฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่ดังนี้
• วางแผนดำเนินการจัดการประชุมแต่ละครั้ง ติดต่อวิทยากรขอบทความ จัดทำหนังสือการประชุมวิชาการ รับผิดชอบนิทรรศการในการประชุม
• จัดหาหนังสือทางด้านวิชาการ
• ดูแลวางระเบียบการให้บริการพิจารณางานวิจัยมีหน้าที่รวบรวมบทความ งานค้นวิจัยของสมาชิก เพื่อนำเสนอลงในวารสารของชมรมฯ และสื่ออื่นๆ - ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มีหน้าที่
• ติดต่อกับองค์กรต่างๆในต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
• รับผิดชอบดูแลและเป็นที่ปรึกษาให้กับสมาชิกที่ได้รับทุนของชมรมฯ เข้าร่วมประชุมในต่างประเทศติดต่อประสานงานเพื่อประโยชน์ของสมาชิกชมรมฯส่งเสริมการศึกษาและจัดสรรทุน
• เผยแพร่ข่าวสารแก่สมาชิกวางระเบียบเกี่ยวกับการให้ทุนแก่สมาชิก เสนอเรื่องการให้ทุนต่อคณะกรรมการอำนวยการกลางเพื่อพิจารณาอนุมัติ
• ส่งเสริมสนับสนุนการแต่งตำรา การวิจัยของสมาชิก
การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหาร จะพ้นจากหน้าที่ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
- ออกตามวาระ
- ลาออก โดยแสดงความจำนงเป็นลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการบริหาร
- ที่ประชุมลงมติให้ถอดถอนทั้งคณะหรือรายบุคคล โดยสมาชิกที่มาประชุม ลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า3ใน4เหตุเพราะไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการบริการ โดยให้ที่ประชุมลงมติและมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า3ใน4
- ขาดการประชุม4ครั้งติดต่อกันโดยไม่แจ้งสาเหตุหรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการกลาง
Leave your comments
Login to post a comment
Post comment as a guest